ประวัติความเป็นมา
โรงเรียนวัดโบสถ์ เดิมเป็นโรงเรียนที่วัดจัดดำเนินการมาก่อน โดยอาศัยศาลาการเปรียญ
เป็นสถานที่เรียน ต่อมามีนักเรียนเพิ่มมากขึ้น กระทรวงศึกษาธิการ จึงมาขอดำเนินการต่อ
10 มีนาคม 2475 เริ่มเปิดสอนครั้งแรกตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา อาคารเป็นไม้ 2 ชั้น 6 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 70 คน ครู 7 คน
พ.ศ. 2510 โรงเรียนเข้าโครงการทดลองเลื่อนชั้นโดยมีการทดสอบปลายปีเป็นบางชั้น
พ.ศ. 2514 เปิดสอน 2 ผลัด ในชั้นประถมปลายเปิดทำการสอน 21 ห้อง มีครู 39 คน นักเรียน 800 คน
พ.ศ. 2517 สร้างอาคารต่อเติมเป็นอาคารคอนกรีต 3 ชั้น เพิ่มอีก 12 ห้องเรียนใช้งบประมาณ 2,497,100 บาท
พ.ศ. 2520 โรงเรียนเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษา ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นปีต่อเนื่องที่ทาง
กระทรวงศึกษาธิการจะประกาศใช้หลักสูตร 2521
พ.ศ. 2521 กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้โรงเรียนประถมศึกษาที่ยกฐานะเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษากลับมา
สอนระดับประถมศึกษา และประกาศให้ใช้หลักสูตรใหม่ให้สอนระดับประถมศึกษา 6 ปี
พ.ศ. 2549 เป็นโรงเรียนต้นแบบหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน และได้รับการประเมินคุณภาพสถานศึกษา
จากสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพสถานศึกษา (สมศ.) ในระดับ ดีมาก
13 กันยายน 2549 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยี่ยมโรงเรียนวัดโบสถ์เป็นการส่วนพระองค์ตามพระประสงค์ที่จะพัฒนาโรงเรียนวัดโบสถ์
เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ
28 กันยายน 2549 นางเพ็ญศรี กรุณี มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
25 พฤศจิกายน 2549 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโรงเรียนวัดโบสถ์ไว้เป็นโรงเรียนในพระราชูปถัมภ์
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
13 มกราคม 2550 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ โรงเรียนวัดโบสถ์
ว่า“ทีปังกรวิทยาพัฒน์” (วัดโบสถ์) เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ
พ.ศ. 2551 สร้างอาคารอเนกประสงค์ 3 ชั้น และอาคารป้อมตำรวจ บ้านพักภารโรง
เงินงบประมาณ จำนวน 7,360,000 บาท ปรับปรุงอาคาร ห้องประทับและห้องประชุมเล็กด้วยเงิน
งบประมาณ จำนวน 3,913,600 บาทโดยปรับปรุงห้องประสบการณ์ทางภาษาเดิมและห้องอนุบาล 1
พ.ศ. 2552 ปรับปรุงตกแต่งภายในพร้อมระบบโสตทัศนูปกรณ์ห้องประชุมใหญ่
และห้องสมุดอาคารอเนกประสงค์ 3 ชั้น เงินงบประมาณ จำนวน 7,500,000บาท
จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และสาระหลักสูตร
ท้องถิ่นเขตดุสิต ตามกรอบสาระหลักสูตรท้องถิ่น เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยจัดการเรียนการสอน
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 จัดทำระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนของโรงเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551
พ.ศ. 2553 ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา และระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
พัฒนาการบริหารจัดการศึกษาให้สอดคล้องจุดเน้นของสถานศึกษา และตามนโยบาย Excellent Schools
ตามโครงสร้างการบริหารโรงเรียนที่เป็นนิติบุคคล ทั้งด้านวิชาการ ด้านการบริหารบุคคล ด้านการบริหารงบประมาณ
และด้านการบริหารทั่วไป ตลอดจนพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และให้สอดคล้องกับความ
ต้องการของชุมชนน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม พัฒนาโรงเรียนจนเป็นที่สนใจมีผู้มาศึกษา
ดูงานหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการพระราชทานธนาคารขยะรีไซเคิล สายใยนักแห่งครอบครัว
และห้องสมุดคุณภาพ
พ.ศ. 2554 ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา และระเบียบการวัดและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และพัฒนาโรงเรียนเป็นไปตามพระราชประสงค์ครบถ้วน สร้างเครือข่ายการเรียนรู้
และขยายผลแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พ.ศ. 2555 โรงเรียนพัฒนาคุณภาพทั้งระบบ ทั้งด้านการบริหารจัดการและด้านการจัดการศึกษาทุกระดับชั้น น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรู้การปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อเป็นต้นแบบแก่หน่วยงานอื่นและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์
(วัดโบสถ์) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อย่างเป็นรูปธรรม
พ.ศ. 2556 โรงเรียนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ และโรงเรียนจิตรลดา
เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนตามพระปณิธานโครงการครูดี อัญมณีทีปังกร ของโรงเรียนในกลุ่มพระราชูปถัมภ์ฯ
ได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรปฐมวัย จัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี (Montessori) ระดับชั้นอนุบาล จุดหมายหลักของการสอนแบบมอนเตสซอรีนั้น คือเด็กจะเรียนได้ดีที่สุด โดยการอนุญาตให้เด็กได้ค้นพบสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง การฝึกฝนทางด้านประสาทสัมผัสด้วยการทำงานด้วยมือ เป็นสิ่งสำคัญประการแรก ครูและผู้ปกครองไม่ควรบังคับให้เด็กทำในสิ่งที่ตนเองต้องการ การให้รางวัลและการลงโทษควรต้องยกเลิกไป และระเบียบวินัยควรเกิดมาจากความเป็นอิสระของเด็ก และแรงผลักดันที่เด็กทำให้เกิดขึ้นเองจากตัวของเด็กเอง และพัฒนาการทั้งความคิด สังคม อารมณ์ จิตใจ และกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกาย
ปัจจุบันโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร อยู่ห่างจากที่ตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ประมาณ 3 กิโลเมตร จัดเป็นโรงเรียนขนาดกลางอัตราการเจริญเติบโตมีแนวโน้มค่อนข้างสูง เพราะโรงเรียนตั้งอยู่ใจกลางชุมชนที่มีประชากรหนาแน่น การคมนาคมสะดวก ฐานะของประชาชนในชุมชนโดยทั่วไปอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขาย และประกอบธุรกิจต่าง ๆ นักเรียนบางส่วนเป็นบุตรของข้าราชบริพาร เป็นบุตรของลูกจ้างที่มาทำงานกับเจ้าของกิจการในชุมชนใกล้โรงเรียน ซึ่งจะมาจากต่างจังหวัดเป็นส่วนมาก แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินการจัดการศึกษาของโรงเรียนแต่ประการใด นอกจากนี้โรงเรียนยังได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการช่วยเหลือและสนับสนุนการศึกษาของโรงเรียนมาตลอด